คุณเลือกขนาดบีทียูแอร์ผิดหรือเปล่า? ทำไมถึงไม่เย็นนะ!

มาดู...คุณเลือกขนาดบีทียูแอร์ผิดหรือเปล่า?!

มาดูกันว่าคุณเลือกขนาดบีทียูแอร์ผิดหรือเปล่า?!

 

           ก่อนที่เราจะติดแอร์ เราก็ต้องรู้ขนาดของบีทียูแอร์ก่อนว่าจะติดขนาดเท่าไหร่? เพื่อจะได้เลือกบีทียูให้เหมาะสมกับห้องต่อไป แล้วเราจะคิดคำนวณอย่างไรล่ะ วิธีง่ายๆ เตรียมจดสูตรได้เลย

           1.รู้ว่าห้องกี่ตารางเมตร  สูตรคือ

ตารางเมตร(ตรม.) = ความกว้าง x ความยาว

           ตัวอย่างเช่น ห้องกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร ดังนั้นพื้นที่ของห้อง คือ 5x7 = 35 ตารางเมตร 

           2.สูตรคำนวณบีทียู

บีทียู  = พื้นที่ห้อง ตรม. x (700 หรือ 800)

สูตรที่ 1 : บีทียู (ใช้พอดีกับห้องมาก) = พื้นที่ห้อง x 700

สูตรที่ 2 : บีทียู (แบบไม่ต้องเผื่อบีทียูแล้ว) = พื้นที่ห้อง x 800

 

            ตัวอย่างเช่น ห้องกว้าง 5 เมตร และยาว 5 เมตร ดังนั้น คำนวณบีทียูได้ = ( 5 x 5 ) x 800 = 20,000 บีทียู โดยคำนวณเพียงแค่นี้ เราก็จะรู้แล้วว่า ห้องขนาด 5x5 หรือ 25 ตรม. นั้นจะต้องติด 20,000 บีทียู แต่ 20,000 บีทียูนั้นมักจะไม่เจอในขนาดแอร์แบบเป๊ะๆ เราจะเจอว่ามีขนาด 18,000 หรือ 24,000 บีทียู (ซึ่งความเป็นจริงบีทียูไม่มี 18,000 หรือ 24,000 เป๊ะๆ เช่นกัน เป็นคำพูดคร่าวๆ ถ้าอยากรู้บีทียูจริงให้เปิดแคตตาล็อกแอร์) แล้วควรเลือกอย่างไรดีล่ะ?

            ถ้าหากคุณนำไปติดที่ห้องโล่ง ไม่โดนแดด และคนในห้องน้อย 18,000 บีทียูก็เพียงพอ คำนวณจากสูตรที่ 1 ได้ 17,500 บีทียู แต่อาจจะรับการทำงานที่หนักขึ้นไม่ได้ ถ้ามีคนเพิ่มขึ้นหลายคน หรือมีความร้อนเพิ่มเข้ามาอย่างมาก ทำให้แอร์ทำความเย็นไม่ทัน แอร์ทำงานหนัก เย็นช้า ดังนั้นหากห้องร้อน เจอแดด เจอความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นมากๆ 18,000 จะไม่พอ

               ส่วน 24,000 บีทียู เป็นขนาดที่เผื่อเกินมา 4,000 บีทียู แบบนี้มั่นใจได้ว่าเย็นแน่นอน เป็นการเผื่อบีทียูที่ดี หากเข้าฤดูร้อน การเผื่อแอร์ตรงนี้ถือว่าช่วยได้มากเพราะประเทศไทยร้อนมากช่วงฤดูร้อน แอร์ต้องมีกำลังพอที่จะทำงานหนักสู้อากาศนอกห้อง หากใช้แอร์ตัวเล็ก แอร์ก็ทำความเย็นได้ แต่จะเย็นน้อยลงเมื่อเข้าหน้าร้อน วิธีนี้เหมาะสำหรับห้องธรรมดา เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น 

            แล้วถ้าใช้บีทียูมากกว่านั้น เช่น 25,000 บีทียู หรือ 30,000 บีทียู ใช้ได้กับห้อง 25 ตารางเมตรได้หรือเปล่า สำหรับห้องปกติที่ไม่ได้รับความร้อนจากปัจจัยอื่น 18,000-24,000 บีทียู ก็เพียงพอแล้วค่ะ นอกจากจะเป็นคนขี้ร้อนเอามากๆ ก็เพิ่มบีทียูได้ตามสบายค่ะ แต่ถ้าคุณจะนำไปติดในร้านอาหารที่มีการส่งความร้อนภายในห้อง เช่น ร้านปิ้งย่าง ร้านชาบู ร้านทำผม หรือห้องเซิฟเวอร์ ที่มีความร้อนชุมทั้งห้อง คุณต้องคำนวณบีทียูเพิ่มด้วยนะคะ อย่าทำลืมหรือตัดเลขทิ้งไป! เดี๋ยวจะบ่นว่าไม่เย็นได้นะ

            หากเป็นร้านปิ้งย่าง ต้องดูเตาย่างว่ามีกี่เตา โดยสิ่งที่ส่งความร้อนอย่างเตาย่าง ไดร์เปาผม หรือคน เราจะนับเพิ่ม 500 บีทียู/(ชิ้น หรือ คน) ค่ะ

                สมมติว่ามี 5 เตา ดังนั้นจะต้องเพิ่ม 5 x 500 = 2,500 บีทียู รวมพื้นที่กับเตาได้ 20,000+2,500 = 22,500 บีทียู

 แต่ในร้านจะมีแต่เตาย่างไม่ได้!! ต้องมีคนกินเป็นกลุ่มๆ ด้วย คิดเพิ่มไปอีกค่ะ ตอนนี้มีขนาด 24,000 25,000 และ 30,000 บีทียูให้เลือก หลังจากคำนวณไปขนาดเพิ่มไปเรื่อยๆ

                ถ้าดูตอนนี้ 24,000 ก็พอใช่ไหมคะ แต่เรายังไม่ได้คำนวณคนนะคะ 25,000 อาจจะโอเค แต่ถ้าคนเยอะๆ เกิน 3 คน บวกกับการเปิด-ปิดประตูร้านที่ลมร้อนเข้าลมเย็นออกอีก ก็ไม่พอแน่นอนค่ะ ดังนั้นปัดไปเป็น 30,000 บีทียู ก็จะเย็นสบายเลยค่ะ หากคิดว่า 25,000 ก็น่าจะพอแล้ว จะคิดอะไรเยอะแยะ ไม่น่าจะต้องใช้เกินหรอก ติด 25,000 บีทียูดีกว่า  ลองดูก่อนได้ค่ะ ถ้าไม่เย็นก็ต้องติดเพิ่มนะ! แล้วแต่การวางแผนออกแบบของแต่ละงาน สำหรับผู้เขียนชอบให้ขนาดแอร์เกินดีกว่าขาดค่ะ 

 

ดังนั้นวิธีการคำนวณจะสรุปได้ดังนี้

  1.  บีทียู = (ความกว้าง x ความยาว ของห้อง) x (700 หรือ 800)
  2.  ปัจจัยอื่นๆ ที่ควรบวกบีทียูเพิ่ม
    • ห้องที่มีการรับแดดมาก +800
    • โชว์รูมที่เป็นกระจกรอบด้าน +1000
    • จำนวนคนที่เกิน 3-4 คน ต่อห้อง +500/คน
    • จำนวนสิ่งของที่ให้ความร้อน เช่น เตาย่าง ไดร์เปาผม เครื่องอบผม +500/ชิ้น
    • เซิฟเวอร์ +800/เครื่อง

 

การคำนวณไม่ยากเลย เท่านี้คุณก็จะรู้แล้วว่าห้องของคุณจะต้องใช้แอร์ขนาดเท่าไหร่แล้ว

สนใจแอร์สำหรับใช้ในร้านอาหารหรือร้านอื่นๆ เข้ามาชมได้ที่ แอร์ตั้งแขวน Split Type  หรือ  แอร์แขวนใต้ฝ้า Ceiling Suspended Type

แอร์ประเภทอื่นๆ ก็มีนะคะ เข้ามาชมได้ที่ https://www.networkcooling.com/

 

  (บทความนี้เน็ตเวิร์กแอร์เป็นผู้เขียน ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความที่อยู่บนเว็บไซต์นี้ไปวางไว้ที่อื่นค่ะ)

บทความ By Admin@NetworkCooling

แก้ไขล่าสุด 12/8/2564

รวมบทความแอร์

Visitors: 801,768