ข้อแตกต่างของน้ำยาทำความเย็น R22 R410A และ R32 ที่ควรรู้!

ข้อแตกต่างของน้ำยาทำความเย็น R22 R410A และ R32 ที่ควรรู้!

ข้อแตกต่างของน้ำยาทำความเย็น R22 R410A และ R32 ที่ควรรู้!

              น้ำยาทำความเย็น(Refrigerant) หรือ สารทำความเย็น หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า "น้ำยาแอร์" เป็นสารเคมีที่อยู่ในแอร์เพื่อสร้างความเย็นให้กับห้องของคุณ โดยน้ำยาแอร์ปัจจุบันที่ยังใช้กันอยู่หลักๆ ในประเทศไทยมี 3 ประเภทด้วยกันคือ R22 R410A และ R32 ซึ่งน้ำยาแอร์แต่ละตัวนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป 

 

น้ำยาแอร์ ODP GWP Cooling Capacity
R22 0.05 1810 100
R410A 0 2090 141
R32 0 675 160

*ODP = ดัชนีวัดการทำลายโอโซน , GWP = ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน , Cooling Capacity = ประสิทธิภาพการทำความเย็น

 

น้ำยาแอร์ R22

  • เป็นน้ำยารุ่นเก่าที่สุด
  • มีค่า ODP 0.05 ซึ่งสามารถทำลายโอโซนในชั้นบรรกาศโลกได้
  • ในเวลาที่น้ำยาแอร์ขาด สามารถเติมน้ำยาแอร์เข้าไปได้เลย
  • แอร์ที่ใช้น้ำยาตัวนี้จะเลิกผลิตในอนาคต ปัจจุบันจะมีเพียงแอร์ขนาดใหญ่ที่ยังใช้ R22 อยู่ ส่วนแอร์เล็กที่ยังใช้น้ำยา R22 อยู่ ยังสามารถใช้ได้เหมือนเดิม

น้ำยาแอร์ R410A

  • หลังจากพบว่าน้ำยา R22 มีผลต่อการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทั่วโลกจึงเปลี่ยนมาใช้น้ำยา R410A ที่ค่า ODP เป็น 0 หรือไม่ทำลายโอโซนเลย
  • แม้ว่าค่า ODP = 0 แต่ค่า GWP ที่บ่งบอกถึงการเกิดภาวะโลกร้อนของน้ำยา R410A นี้กลับสูงกว่า R22 หมายความว่า น้ำยา R410A ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ แต่ยังทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่
  • เวลาเติมน้ำยาจะต้องเอาน้ำยาเก่าออกให้หมดก่อน แล้วจึงเติมเข้าไปใหม่ทั้งหมด

น้ำยาแอร์ R32

  • เป็นน้ำยารุ่นใหม่ล่าสุด 
  • น้ำยา R32 นี้ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกและก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยกว่า R410A ถึง 3 เท่า
  • ให้ประสิทธิภาพทำความเย็นสูงกว่า R22 และ R410A ทำให้แอร์เย็นเร็วกว่าและประหยัดกว่า
  • ราคาน้ำยาแอร์ R32 ถูกกว่า R410A
  • ในเวลาที่น้ำยาแอร์ขาด สามารถเติมน้ำยาแอร์เข้าไปได้เลย ไม่ต้องเอาของเก่าออก
  • มีข้อเสียที่ติดไฟได้เล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวอื่นๆ ที่ไม่ติดไฟ
  • นำมาใช้ในแอร์ขนาดเล็กที่ต่ำกว่า 24000 บีทียู ซึ่งแอร์รุ่นใหม่กำลังทยอยปรับให้ใช้กับขนาดเล็กได้

 

              ข้อมูลเหล่านี้ก็เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้บริโภคควรรู้ไว้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ที่มีหลากหลายประเภท และเป็นตัวช่วยอีกทางในการตัดสินใจเลือกซื้อแอร์ หากสนใจสินค้าแอร์ประเภทไหนก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ มีบอกประเภทน้ำยาด้วยที่ http://www.networkcooling.com


 (บทความนี้เน็ตเวิร์กแอร์เป็นผู้เขียน ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความที่อยู่บนเว็บไซต์นี้ไปวางไว้ที่อื่นค่ะ)

บทความ By Admin@NetworkCooling 

แก้ไขล่าสุด 12/8/2564

 

รวมบทความแอร์

Visitors: 801,797